Donation
กิจกรรมให้ความรู้ 6 ชุมชนด้านการจัดการเครื่องมือประมงและการนำเที่ยว พร้อมถ่ายทำสารคดีอนุรักษ์ทางทะเล
Environment
+ 1
ภูเก็ต, ประเทศไทย
Campaign ended
Link copied to clipboard.
0followers
ต้นเหตุของขยะประเภทเศษซากอวนในทะเลอยู่ที่การจัดการกับเครื่องมือประมง และปัจจัยสำคัญหลักคือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ การให้ความรู้อย่างทั่วถึงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
2,001THB Raised
0% of 500,000 THB goal
9supporters
+7
0days left
If the campaign doesn’t hit fundraising target, what will happen to my donation?
Tax-deductible Not available
Message from the Team
ช่วยเราลดขยะทะเลประเภทเศษซากอวนแห ผ่านการร่วมมือในการบริจาคกับแคมเปญนีี้
Our Story

เนื่องจากโลกเรามีพื้นที่ที่เป็นมหาสมุทรมากถึง 3 ใน 4 หรือ 71% ของพื้นผิวโลก ปัจจุบัน สถานการณ์ทางสิ่งแวดล้อมทั่วโลกกำลังเข้าขั้นภาวะวิกฤต ในอนาคตอันใกล้นี้ทรัพยากรทางทะเลเข้าขั้นเสี่ยงต่อภาวะการเสื่อมโทรม ซึ่ง 1 ในปัญหาหลักคือการโหมใช้ทรัพยากรอันประกอบไปด้วย ปัญหาผลกระทบจากการท่องเที่ยว ปัญหาขยะทะเลทั้งขยะพลาสติกและเศษอุปกรณ์เครื่องมือการประมง เช่น เศษ อวน แห อันส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลมากมาย ต่อเนื่องมายังมนุษย์ในฐานะผู้บริโภคในรูปแบบของอาหารและกิจกรรมทางทะเล เกี่ยวโยงไปถึงปัญหาในภาพใหญ่คือภาวะโลกร้อน ที่ทุกๆปัญหาล้วนส่งผลกระทบมายังประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การสร้างสรรค์สื่อภาพยนตร์สารคดีจึงมีความจำเป็นต้องเล่าเรื่องเพื่อให้ผู้รับชมได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และเสนอแนะแนวทางแก้ไขไปพร้อมกัน

จากการตามรอยย้อนกลับไปโดยการดูประวัติของแนวปะการัง พบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับปะการัง ไม่ใช่ความผันผวนของธรรมชาติ แต่สาเหตุนั้นเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเรากำลังละเลยถึงปัญหานี้ เนื่องจากความไม่รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นเพราะความร้อนส่วนเกินที่ก๊าซเรือนกระจกกักเอาไว้นั้นได้ถูกถ่ายโอนลงมาสู่มหาสมุทร ดังนั้นเมื่อก๊าซเรือนกระจกมีคุณสมบัติที่ทำให้มันกักความร้อนได้ เมื่อยิ่งมีอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเท่าไร จำนวนความร้อนที่โลกกักไว้ก็มากขึ้นเท่านั้น และสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้คือ 93% ของความร้อนที่ถูกกักไว้นั้น จะกลับลงสู่มหาสมุทร ซึ่งถือเป็นพลังงานที่สูงมาก ถ้ามหาสมุทรไม่ดูดซับความร้อนนี้เอาไว้ อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของโลกจะสูงถึง 122 องศาฟาเรนไฮต์ (อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของโลก คือ 50 องศาฟาเรนไฮต์) นั่นหมายความว่าปะการังทั่วโลก อาจจะตายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

(ข้อมูลจาก ศาสตราจารย์ OVE HOEGH-GULDBERG : Coral Reef Biologist)

ดังนั้น “โครงการสื่ออาสาเพื่อการอนุรักษ์ท้องทะเลไทย” นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นกระบอกเสียง ให้กับทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมกันปกป้องทรัพยากร ทีมงานนักดำน้ำอาสา ที่ร่วมกันปฏิบัติภารกิจเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ท้องทะเลไทย ด้วยความเชื่อมั่นว่าหากมีการเริ่มต้นสานพลังเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับท้องทะเลไทย ปัญหาที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาที่วิกฤติในอนาคต จะยังสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีในวันนี้ หากเราตระหนักและช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตต่างๆ และสิ่งแวดล้อมทางทะเล ให้เกิดขึ้นกับประเทศไทยของเรา ในวันที่ยังไม่สายจนเกินไป

โดยโครงการวางแผนดำเนินงาน 2 กิจกรรม

กิจกรรมให้ความรู้ 6 ชุมชน ได้แก่

ชุมชนชายฝั่งทะเลอ่าวไทย 3 ชุมชน

ชุมชนชายฝั่งทะเลอันดามัน 3 ชุมชน

จำนวนเงิน 240,000 บาท *40,000 บาท/ชุมชน

กิจกรรมถ่ายทำสารคดีความยาวไม่เกิน 30 นาที ประกอบด้วยภาพใต้น้ำ ภาพมุมสูง ภาพจากกิจกรรมทั้งหมด 6 ชุมชน รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านขยะทะเล เช่น ตัวแทนชุมชน ผู้ประกอบการในชุมชน ตัวแทนจากผู้ผลิตภาชนะพลาสติก นักวิจัยด้านการอนุรักษ์ทางทะเล สัตวแพทย์ที่ดูแลสัตว์ทะเลที่ได้รับบาดเจ็บ และผู้ประกอบการด้านการนำขยะทะเลไปรีไซเคิล

จำนวนเงิน 260,000 บาท

จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 500,000 บาท

---------------------------------------------------

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย ลำดับที่ 1

ชุมชนเป้าหมายรวมทั้งหมด 6 ชุมชน แบ่งออกเป็น

ชุมชนที่อยู่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จำนวน 3 ชุมชน

ชุมชนที่อยู่ชายฝั่งทะเลอันดามัน จำนวน 3 ชุมชน

โดยจะคัดเลือกชุมชนที่อยู่ในโครงการ ต้องเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ๆพบจำนวนขยะทะเลประเภทเศษซากอวนในปริมาณมาก และมีผู้ประกอบการในชุมชนที่ใช้เครื่องมือประมงประเภทเหล่านี้ ทั้งผู้ประกอบการประมง และผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว เนื่องจากเป็นเจ้าของทรัพยากรในพื้นที่

ผู้ประกอบการเรือประมง : ขยะทะเลประเภทเศษซาก อวน แห เป็นขยะที่จมอยู่ก้นทะเล ทำการเก็บกู้ยาก จำเป็นต้องใช้นักดำน้ำที่มีทักษะทำการเก็บกู้เท่านั้น

ผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว : ขยะทะเลประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ขวดน้ำ ถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นขยะที่ลอยอยู่บนทะเล เก็บกู้ง่ายกว่า แต่กระจัดกระจายง่ายกว่า

ซึ่งขยะทุกประเภทล้วนสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศและสัตว์ทะเลทั้งที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก และผิวทะเลมากมาย และปัญหาจากขยะทะเลทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

กลุ่มเป้าหมาย ลำดับที่ 2

บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา ที่ใช้สื่อเป็นหลักในชีวิตประจำวัน หรือผู้ที่สนใจค้นคว้า ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล กลุ่มคนจิตอาสา, อาสาสมัคร, นักดำน้ำ, นักอนุรักษ์ รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ตระหนักถึงปัญหา และต้องการทราบถึงข้อมูลสิ่งแวดล้อมทางทะเล ในรูปแบบสื่อภาพยนตร์สารคดี

Show more
Social Impact

ให้ความรู้แก่ชุมชนและผู้ที่จัดการเครื่องมือประมง เพื่อลดปัญหาการทิ้งขยะเศษซากอวนแหลงในทะเล การนำขยะทะเลไปรีไซเคิล รวมไปถึงการสร้างการรับรู้เรื่องขยะทะเลผ่านการเล่าเรื่องในรูปแบบสารคดีความยาวไม่เกิน 30 นาที

Updates
There are currently no updates