organization cover

เครือข่ายสาธารณศึกษา (Feel Trip)

Community Development
+ 3
กรุงเทพมหานคร, ไทย
+25
+24
Link copied to clipboard.
0followers
วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ ที่ทุกคนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ "ตั้งโจทย์คำถาม ค้นหา ออกแบบ ลงมือทำ และทบทวนสะท้อนคิด" . ออกไปเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์ใหม่ด้วยกัน
SDG Goals
1No Poverty
2Zero Hunger
3Good Health and Well-being
4Quality Education
9Industry, Innovation and Infrastructure
10Reduced Inequality
11Sustainable Cities and Communities
15Life on Land
16Peace and Justice Strong Institution
17Partnerships for the Goals
Donation to organization is used for general expenses and not used for specific campaigns
0THB Raised
0supporters
Tax-deductible Not available
Our Story

โลกและสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้ว การปรากฏตัวของชนรุ่นดิจิทัล (Digital Generation) ซึ่งเป็นคนพันธุ์ใหม่ที่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คือสิ่งบ่งบอกถึงลักษณะคนในสังคมที่เปลี่ยนไป กล่าวกันว่าชนรุ่นดิจิทัล หรือที่เรียกว่า "Digital Natives” ผู้ซึ่งเกิดหรือเติบโตขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 นั้น ล้วนแล้วแต่มีวิธีคิด และพฤติกรรมการเข้าถึงและจัดการความรู้แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนหน้าหรือพวก "Digital Immigrants" อย่างสิ้นเชิง

ส่วนสถานการณ์การศึกษาในอนาคต ก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจที่จะเปลี่ยนไป Gig Economy/ Sharing Economy พร้อมๆ กับการเกิดขึ้นของอาชีพใหม่ๆ อีกมากมาย 65% ของงานในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นงานที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การศึกษายุคใหม่ Next Generation Education จึงต้องเน้นแสวงหา/เรียนรู้ได้เองอย่างท้าทาย สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดความรู้เดิม คิดและประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้ เหมาะกับตนเอง สังคมตามสถานการณ์ เชื่อมร้อยเชื่อมโยงประสานความร่วมมือ เป็นการศึกษามีรูปแบบการบริการ Service oriented และเข้าถึงได้ในรูปแบบ real time ตลอดเวลา ทั่วถึง ทุกที่ ทุกเวลา การศึกษาต้องไม่เน้นกรอบการเรียนรู้ แต่เน้นการต่อยอดองค์ความรู้ สร้างความรู้ใหม่ ไม่อยู่ในกรอบหลักสูตรแบบเดิม และเป็นการเรียนรู้ตามความต้องการมากขึ้น Learn, Unlearn, Relearn ภายใต้คุณค่าและความหมายของการศึกษา/ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning)...การเรียนรู้จากโรงเรียนจึงอาจไม่ใช่คำตอบเดียวของการศึกษา

คำถามสำคัญคือ ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แล้วเราทำอะไรได้บ้าง เมื่อเรากำลังพูดถึงโลกยุคดิจิทัล โลกที่มีวิวัฒนาการใหม่ของเทคโนโลยี โลกที่กำลังก้าวข้ามยุคอุตสาหกรรม โลกที่ระบบการศึกษาแบบสายพานอุตสาหกรรมได้กลายเป็นสิ่งล้าหลัง และเป็นอุปสรรคขัดขวางวิวัฒนาการ โลกที่มหาวิทยาลัยกำลังพังทลาย โลกที่ภายในอีก 5-6 ปีข้างหน้า อาชีพที่คุ้นชินทำกันอยู่จำนวนมากจะสูญหายไป โดย 65% ของการงานในตอนนั้นคือสิ่งที่เราไม่รู้จักในวันนี้ ...โลกวันนี้และอนาคต กำลังเรียกร้องให้มนุษย์เข้าสู่วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่เพื่ออนาคต

วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่เพื่ออนาคต

วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ คือ การรู้กว้าง รู้ลึก รู้จริง และเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่สิ้นสุด ที่สำคัญกว่าตัวความรู้คือทักษะจากประสบการณ์จริง ทักษะที่สำคัญที่สุดคือทักษะของการรู้จักตัวเอง ซึ่งนำสู่แรงบันดาลใจ เป้าหมาย ความมุ่งมั่น และพลังในการสร้างอนาคต และการกลับสู่คุณค่าในทางจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์ ในความสัมพันธ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติ

ขณะเดียวกันก็ขับเคลื่อนแรงบันดาลใจ ไปสู่การออกแบบ การสร้างสรรค์ปฏิบัติการ การลงมือทำในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับปัจเจก ชุมชน/ พื้นที่ และสังคม

ด้วยความคิดและความเชื่อเช่นนี้ ท่ามกลางบริบทโลกยุคดิจิตัล เราจึงชวนเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ มาร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ ออกแบบพื้นที่ ลงมือทำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงตามแบบฉบับของ เครือข่ายสาธารณศึกษา หรือ Feel Trip

Feel trip คืออะไร

Feel คือ ความรู้สึก, Trip คือ การท่องเที่ยวเดินทาง Feel trip เป็นคำที่ล้อมาจากคำว่า Field trip ซึ่งคือการลงพื้นที่ หรือออกภาคสนาม ที่ดูจะมีความขึงขัง หนักแน่นในเชิงการศึกษา หากแต่ สิ่งสำคัญของการเรียนรู้แบบ Feel Trip คือ

การเรียนรู้ที่พาผู้คนออกมาหาความหมายของชีวิต ผ่านการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จริง ลงมือทำจริง เป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง เป็นเจ้าของปฏิบัติการของตนเอง ได้เลือก ได้ออกแบบพื้นที่เรียนรู้ และพื้นที่ชีวิตของตนเองหลายรูปแบบ ทั้ง On Ground, Online, Offline เป็นกระบวนการเรียนรู้ได้ทุกพื้นที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ สามารถยกระดับความรู้นั้นไปสู่การมีส่วนร่วม (สะท้อนคิด, แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจ และลงมือทำ) เกิดปฏิบัติการและสื่อสารที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับปัจเจก ชุมชน/ พื้นที่ และสังคม รวมทั้งเชื่อมร้อยกันเป็นชุมชน หรือ เครือข่ายของผู้คน(นักเรียนรู้ นักออกแบบ นักสื่อสาร) ที่สัมพันธ์กันด้วยฐานความคิด ความเชื่อและมองเห็นเป้าหมายในฐานะพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยร่วมกัน

...Feel Trip คือ วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ รู้ตน รู้ชุมชน-สังคม และรู้โลก

Social Impact

กระบวนการเรียนรู้ของ Feeltrip เชื่อมร้อยพื้นที่เรียนรู้หลากหลายรูปแบบ โดยตั้งอยู่บนหลักคิดสำคัญที่มุ่งเน้นให้เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ค้นพบ/รู้จักตัวเอง(Self Awareness) สามารถแสวงหาความรู้ ค้นคว้า(Inquiry) ออกแบบและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Creativity) ตามศักยภาพ ความสนใจ และต้นทุนฐานความรู้ของชุมชน เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองที่เชื่อมโยงไปถึงการมีความภาคภูมิใจในตนเอง(Self Esteem) การมีคุณภาพชีวิตหรือสุขภาวะที่ดีระดับปัจเจก และครอบครัวในฐานะหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด เชื่อมไปสู่ระดับชุมชน สังคม และโลก (Connect & Connext) และเคารพในความหลากหลายของความเป็นมนุษย์ (Empathize)

ภายใต้หลักคิดอันเป็นหัวใจเช่นนี้ กระบวนการเรียนรู้ของ FeelTrip ให้ความสำคัญกับการลงมือปฏิบัติ เน้นการลองผิดลองถูก เน้นการแก้ไขวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาที่สามารถเชื่อมโยงตนเองกับชุมชนกับสังคมและโลกได้ และเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ทุกคนมีสิทธิ์ มีอิสระในการเลือก/ ออกแบบการเรียนรู้ของตนเองได้ตอบโจทย์ สอดคล้องกับสถานการณ์โลก ผ่านการสร้าง Experience Learning โดยการออกแบบพื้นที่เรียนรู้เชื่อมโยงกับการออกแบบพื้นที่ชีวิต หรือสร้างพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ ได้มาเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมกับกลุ่ม/ พื้นที่ เกิดการเรียนรู้ปัจเจก ที่นำไปสู่การคิด ใคร่ครวญและนำความรู้ที่ได้รับสะท้อนกลับในรูปแบบของผลงานสื่อสารสาธารณะ

ปี พ.ศ.2561 - 2562 สาธารณศึกษา หรือ Feel trip ชวนเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ “ท่องเที่ยวอย่างนักเดินทาง เดินทางอย่างนักเรียนรู้” ด้วยเครื่องมือสำคัญคือ “ความรู้สึกตัว” แล้วเก็บเกี่ยวกลายเป็นเรื่องเล่าประสบการณ์ใหม่ ออกเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะ

ปี พ.ศ.2563 คนรุ่นใหม่ Feel trip ริเริ่มโครงการภายใต้การสนับสนุนของ Feel trip เกิดโปรเจคการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 8 โปรเจค ประกอบด้วย ห้องเรียนวิถีชีวิตชุมชนวัดจันทร์ ห้องเรียนวงดนตรีขยะลอแอะ Youngไทใหญ่Designer แปลงผักนุ้ยๆ Art@Classroom เสียงไม่แบ่งวัย KlongtoeyCrew และ NoWhere NowHere โปรเจคที่ตั้งต้นจากคำถามและเป้าหมายอยากสร้างการเปลี่ยนแปลงในจุดเล็กๆ ที่ตัวเองทำได้ ที่นำไปสู่การออกแบบ ปฏิบัติการ และการสะท้อนคิด

หลายคนอาจมีคำถามว่า กระบวนการเรียนรู้ตามฉบับของ Feel trip ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดบ้าง สิ่งที่เราค้นพบและเรียนรู้จากกระบวนการทำงานนั้น คือ วันนี้ เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ที่เข้าร่วมกระบวนการด้วยกัน ดังเช่น สมาชิก 95 คนใน Facebook Group : Storytellers in Journey ก็ยังพาความคิดและวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ ออกเดินทางไปกับตัวเองในพื้นที่อื่นๆ ของชีวิต และค้นเจอการเรียนรู้ของตัวเองในพื้นที่ต่างๆ เหล่านั้น เกิดการรวมตัว(กลุ่ม พื้นที่ ชุมชน เครือข่าย) บนภูมิทัศน์สื่อใหม่ (On Ground, Online, Offline) สามารถยกระดับการเรียนรู้ไปสู่การมีส่วนร่วม(แสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ การลงมือทำ) และการใช้สื่อเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ...รู้ร้อนรู้หนาวต่อสิ่งต่างๆ ในสังคม

เกิดช่องทางสื่อสารกับสังคม และเกิดการตื่นตัวของสังคมในการเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการขับเคลื่อนให้เกิดพื้นที่เรียนรู้สาธารณะ ทุกที่ ทุกเวลา ทุกบริบท

จากหนังสือหนึ่งเล่ม จากเรื่องเล่าหนึ่งเรื่อง จากบทสนทนา จากความสัมพันธ์ จากการเดินทาง ฯลฯ องค์ประกอบเล็กๆ ของชีวิตที่นำไปสู่การรู้จักและรู้สึกตัว(Self Awareness) และจากปฏิบัติการโปรเจคการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการสื่อสารสะท้อนคิดในระดับพื้นที่ใดๆ ก็ตาม นำผู้คนเหล่านี้ไปสู่การนับถือและภาคภูมิในใจตน(Self Esteem)

3 ปี สาธารณศึกษา Feel Trip

67 แกนนำคนรุ่นใหม่, 229 การมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่, 668 การมีส่วนร่วมของผู้ใหญ่ บุคลากรทางการศึกษา

8 Feel triip Workshops, 8 โปรเจคการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง, 89 แผนการเรียนรู้, 1 Creative Trail, 3 งานอีเวนท์, 260 การเปิดพื้นที่เรียนรู้, 47 จังหวัด, เชื่อม 7 โรงเรียน 16 ชุมชน 1 ตำบล

2 พื้นที่ต้นแบบ 2 พื้นที่ยกระดับ 2 ชุดองค์ความรู้, 961 ผลงานสื่อสาร, 19 Online Platform

Feel Trip คือเครือข่ายที่ไร้โครงสร้าง เราอยู่ในทุกหนทุกแห่ง เหนือจรดใต้ และเราเป็นกระบวนการที่ไม่มีกระบวนการ เราเป็นแค่ปฏิบัติการเล็กๆ ที่เชื่อมต่อกันของผู้คน เราคือ On Ground, Offline และ Online พื้นที่ของเรามีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ...เราเป็นจุดเล็กๆ ของความเชื่อมั่นที่มีอยู่ในเนื้อตัว อยู่ในความรู้สึกตัวของผู้คน

นี่คือกระบวนการที่เป็นสารตั้งต้น ที่เครือข่ายอยากจะขับเคลื่อนเพื่อยืนยันกับเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ ให้เชื่อมั่นในพลังการเรียนรู้ของตนเอง พาตัวเองสู่การเดินทาง พาตัวเองไปสู่การค้นพบความรู้สึกและประสบการณ์ใหม่ การเดินทางในคุณค่าและความหมายใหม่ที่เป็นเรื่องการสำรวจตรวจค้น การรู้จักตนเอง การได้ลงมือทำในสิ่งเล็กน้อยที่สร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณค่า และความหมายต่อชีวิตตนเองและคนอื่นๆ นับถือศรัทธาในตนเอง และเชื่อมต่อสู่การนับถือเคารพในความแตกต่างหลากหลายของความเป็นมนุษย์ คุณค่าอันเป็นแก่นหลักที่นำสังคมไปสู่ความเท่าเทียม เป็นธรรม และนับรวมผู้คนทุกคน เกิดวัฒนธรรมพลเมือง (พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม) ภายใต้สมรรถนะนักเรียนรู้สาธารณศึกษา และสมรรถนะนักสื่อสารสุขภาวะ (MIDL)

อย่ารอว่าจะต้องเปลี่ยนโรงเรียน เปลี่ยนนโยบาย เปลี่ยนรัฐบาล เพราะนี่คือการเดินทางของความรู้สึกตัว นี่คือการเรียนรู้และการออกแบบที่เราเป็นเจ้าของ ...ชีวิตไม่ได้เกี่ยวกับว่าเราทำอะไร แต่สำคัญตรงที่เราทำมันอย่างไร ....Movement คือ หัวใจของ Feel trip

Updates
There are currently no updates