ตานีสยาม กระเป๋าหนังกาบกล้วย เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากต้นกล้วยสายพันธุ์ตานี ที่นำต้นกล้วยในชุมชนมาแปรรูปเป็น "หนังทดแทน" ซึ่งมีคุณสมบัติในการกันน้ำ กันเชื้อรา มีสีสันที่แตกต่างกันตาม 3 ฤดูกาลของประเทศไทย คือ หน้าหนาวได้สีขาว หน้าฝนได้สีดำ และหน้าแล้งเป็นคัลเลอร์ฟูล ตามแนวคิดที่วางไว้คือ สร้างสรรค์จากธรรมชาติ ผลิตจากฝีมือชุมชน ตานีสยาม จังหวัดราชบุรี
ธนกร สดใส ผู้ก่อตั้ง ตานีสยาม ได้นำวัสดุธรรมชาติที่ผูกพันกับวิถีชีวิตมายาวนานมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์และความร่วมสมัยมากขึ้น จากกล้วยตานีที่ปลูกในชุมชนจึงได้รับการสร้างสรรค์ผ่านนวัตกรรมสู่ "หนังกาบกล้วย" ที่สามารถนำไปผลิตเป็นกระเป๋าหรือหมวก โดยมีคุณภาพทัดเทียมกับหนังในอุตสาหกรรม ซึ่งมีอายุการใช้งานราว 5-10 ปี
Tanee Siam produces banana fiber leather bags. These products are derived from the Tani banana variety. The banana plants from the community are processed into an "alternative leather" that possesses properties like water resistance and mold resistance. The colors vary depending on the three seasons in Thailand: white for winter, black for the rainy season, and colorful for the dry season. The underlying concept is to create from nature and be handcrafted by the community. Tanee Siam is located in Ratchaburi province.
Thanakorn Sodasai, the founder of Tanee Siam, has taken natural materials intertwined with a long-standing way of life and innovated them into products that resonate more with modern lifestyles. The Tani bananas grown in the community have been transformed through innovation into "banana fiber leather," which can be used to make bags or hats. This material is of comparable quality to the leather used in the industry, with a lifespan of approximately 5-10 years.
มีการขับเคลื่อนภายใต้วิสาหกิจชุมชนบ้านช่างสกุลบายศรี สามารถดูแลได้ 30 ครอบครัว ซึ่งจะมีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ที่กระจายรายได้ งานและองค์ความรู้
ในส่วนของรายได้ที่เป็นต้นน้ำในการปลูก 1 ครัวเรือนปลูกได้ 1 ไร่ มี 250 ต้น ทางแบรนด์รับซื้อมาแปรรูปต้นละ 50 บาท ซึ่งรายได้อยู่ที่ราว 12,500 บาทต่อครัวเรือนต่อไร่ เป็นรายได้เสริมให้กับสมาชิกที่ปลูกภาคเกษตร
The initiative under the community enterprise of Ban Chang Sagoon Bai Sri can support 30 families. These families can be categorized into upstream, midstream, and downstream, distributing income, work, and knowledge among them.
Regarding the upstream income from cultivation, one household can plant on one acre, which has 250 plants. The brand purchases each plant for processing at a rate of 50 Baht per plant. This results in an income of approximately 12,500 Baht per household per acre, providing supplemental income for the agricultural members who cultivate.