มีเด็กผู้หญิงและหลายคนในพื้นที่เปราะบางที่เข้าถึงผลิตภัณฑ์รองรับประจำเดือนไม่ได้ ทำให้ต้องหยุดเรียน หยุดงาน หรือติดเชื้อจากการใช้ผ้าอนามัยหนึ่งแผ่นทั้งวันหรือใช้เศษผ้าที่ไม่สะอาดแทน นอกจากนี้บางคนยังอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำสะอาดหรือมีวิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่สามารถทำให้ใช้ถ้วยอนามัยหรือผ้าอนามัยแบบซักได้
ไอร่าต้องการเป็นกระบอกเสียงเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมและสิทธิของมนุษยชนด้านประจำเดือนแก่ผู้ที่เข้าถึงผลิตภัณฑ์รักษาสุขอนามัยไม่ได้ (period rights) เปลี่ยนมุมมองและทัศนคติของสังคมที่มีต่อประจำเดือน (period stigma) และระดมทุนเพื่อจัดจำหน่ายผ้าอนามัยที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้ทุกคน (period poverty)
จนถึงวันนี้ ไอร่าได้บริจาคผ้าอนามัยทั้งหมดกว่า 471,514 แผ่นทั่วประเทศไทย และขอเชิญชวนให้ทุกคนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวนี้ไปด้วยกัน
ไอร่าได้บริจาคให้พื้นที่เหล่านี้ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและการรักษาสุขอนามัยที่ดี:
- โรงเรียนวัดคลองเตย โรงเรียนวัดสะพาน และโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนาในกรุงเทพฯ เพื่อสอนเรื่องการรักษาสุขอนามัยเพศหญิงและเพศศึกษาให้แก่นักเรียน 223 คน และแจกผ้าอนามัย
- Karen Women’s Organisation หน่วยงานที่ช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยงและผู้อพยพจากพม่าให้ตั้งหลักและฐานได้อีกครั้ง
- กลุ่มลูกเหรียง หน่วยงานที่ช่วยเหลือเด็กๆในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับการกระทบจากสงครามภาคใต้
- แคมป์แรงงานต่างด้าวในกรุงเทพฯช่วง lock-down ของโรคระบาด COVID-19
- ผู้กระทบจากน้ำท่วมในประเทศไทย ผ่านสภากาชาดไทย
- ผู้กระทบจากแผ่นดินไหวในตุรกี ผ่านสถานทูตตุรกีในประเทศไทย
- ผู้กระทบจากไฟไหม้ในกรุงเทพฯ ผ่านมูลนิธิ SOS
- มหาวิทยลัยในกรุงเทพฯ เพื่อวางในหอพัก