(TH/ENG) โดยพื้นฐานแล้ว พวกเราทีมยุ๊มมาฉ่าเป็นเฟลโล่วและศิษย์เก่าจาก Teach For Thailand (มูลนิธิทีชฟอร์ไทยแลนด์ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการจะยุติปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาไทย)
หลังจากที่ได้ร่วมโครงการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 2 ปี ด้วยบทบาทครูในโรงเรียนขยายโอกาส พวกเราได้เรียนรู้ชัดเจนว่าความร่วมมือจากผู้ปกครองเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก นักเรียนของเราไม่สามารถมาโรงเรียนอย่างสบายใจได้ในเมื่อผู้ปกครองกำลังประสบปัญหา โดยเฉพาะทางด้านการเงิน สุดท้ายเด็ก ๆ จึงมีแนวโน้มที่จะออกจากระบบการศึกษามากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการศึกษาไม่สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิตของพวกเขาได้
เพื่อที่จะทำให้เด็กและผู้ปกครองมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน เราจึงจำเป็นที่จะต้องแสดงให้เห็นว่าการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร และผู้ปกครองสามารถมีบทบาทต่อการศึกษาของบุตรหลานได้อย่างไรบ้าง
โครงการยุ๊มมาฉ่า มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน โดยการทำให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และฝึกอาชีพสำหรับทุกคน ด้วยความคาดหวังว่าโครงการนี้จะสามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์ในสังคมให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาอื่น ๆ เช่น การกระทำผิดกฎหมาย, ความยากจน, สิ่งแวดล้อม และการขาดเป้าหมายในการเรียน
We are fellows and alumni from Teach For Thailand, a not-for-profit foundation with a mission to end inequality in Thai education. After 2 years of committing the program as full-time teachers in high-needs schools, we all realize how necessary parental involvement is: our students cannot go to school carelessly while their parents are facing financial problems in particular. Finally, many children are more likely to drop-out from school because the education cannot satisfy their fundamental needs. According to the reason mentioned above, to build trust among students and parents, we need to show them how an effective education can be implemented on a daily basis and how parents can take an important role toward their children's education.
Thus, Yummacha project directly aims for connecting the dots - between school, family, and community - making school become a learning space providing vocational training for all. With the promising expectation that this will tighten the meaningful bond in society, and partially reduce other issues like delinquency, poverty, environment, and lacking of educational goal, in the same time
(TH/ENG) "ยุ๊มมาฉ่า" ภาษาอาข่าแปลว่า "บ้านไม้ไผ่"
เดิมชาวอาข่านิยทสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ แต่ด้วยความไม่คงทนจึงส่งผลให้ปัจจุบันชาวอาข่านิยมสร้างบ้านคอนกรีตแทน ในขณะที่การก่อสร้างด้วยวัสดุเหล่านี้มีราคาสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องขนส่งระยะไกลจากในเมืองขึ้นไปยังบนดอย ดังนั้นรายได้ที่ต่ำมากของชาวอาข่าจึงไม่สัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายเหล่านั้น เกิดเป็นปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมาย
โครงการเราเห็นโอกาสที่หมู่บ้านมีไม้ไผ่จำนวนมากและชาวบ้านต่างก็มีฝีมือในการใช้ไม้ไผ่ด้วยวิธีดั้งเดิม จึงได้ศึกษาวิจัยจนค้นพบวิธีแก้ปัญหาด้วยการสร้างบ่อแช่น้ำยาไม้ไผ่ โดยใช้เกลือบอแร็กซ์ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะยืดอายุไม้ไผ่ได้เป็น 10 เท่า จากบ้าน 5 ปี เป็น 50 ปี และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 50,000 บาท/ครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดความรู้ด้านสถาปัตยกรรมไม้ไผ่โดยผู้เชี่ยวชาญ ผ่านการสร้างสิ่งปลูกสร้างตัวอย่างจริงให้แก่เด็กและคนในชุมชน ส่งเสริมการสร้างอาชีพช่างไม้ไผ่ งานออกแบบ หรืออาชีพอื่น ๆ ได้ในอนาคต สร้างช่องทางใหม่ในการหารายได้ อันเป็นการแก้ปัญหาให้ชาวอาข่าได้อย่างยั่งยืน
“Jum - ma - tsa” means “bamboo house” in Akha language. (we decided to use the word 'Yum-Ma-Cha instead, because it's easier for out-of-towners to remember')
Normally, Akha people build houses with bamboo in the traditional way but they are not durable. On the other hand, according to their very low income, building a house with concrete is way too expensive. Therefore, this funding project is made up, mainly aims for building a Borax bath which is eco-friendly, leading to extending the duration of bamboo service life. In other words, the bamboo houses will last 10 times longer than usual - from 5 years to 50 years. Meanwhile, this solution can save villager building expenses up to 50,000 Thai Baht per a household (around 1,365 USD).
Moreover, architecture knowledge will also be provided by dedicated experts demonstrating know-how to apply the theory to the reality by building up 6 structures like school commuting shelter, public versatile shelter, school versatile shelter, school garage, public garage, and ceilings of villager’s house as the main models, in order to enhance design and building skill for both local children and adults.
Since we strongly believe in sustainability, then ‘learning by doing’ is by far the best way to let people practice until they become professionals in this pathway. After that, this practical competency will lead the locals to gain more wages on their own, solving a financial problem which is the crucial issue in their lives.