+2
+1
คัดลอกลิงค์ไปยังคลิปบอร์ดแล้ว
0ผู้ติดตาม
แพลตฟอร์มที่ให้นิสิต นักศึกษาในประเทศไทย เข้ารับบริการด้านสุขภาพจิตผ่านวีดีโอคอลโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยา โดยความร่วมมือของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต
เป้าหมาย SDGs
2ขจัดความหิวโหย
9อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
15ระบบนิเวศทางบก
16สันติภาพและสถาบันเข้มแข็ง
การบริจาคให้กับองค์กรจะใช้สำหรับค่าใช้จ่ายทั่วไปและไม่ได้เจาะจงเฉพาะโครงการ
0บาท ที่ระดมทุนได้
0ผู้สนับสนุน
การลดหย่อนภาษี ไม่ได้
เกี่ยวกับองค์กร

ประเทศไทยสูญเสียนิสิตนักศึกษาหลายร้อยคนในทุกทุกปี คนหนุ่มสาวทำร้ายตัวเอง หรือทอดทิ้งความหวังที่จะมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่ชีวิตยังเดินมาไม่ถึงครึ่งทาง ทั้งที่พวกเขายังมีอายุขัยอีกหลายสิบปี มีเวลาให้ได้เติบโต เรียนรู้ และมีส่วนในการช่วยเหลือประเทศอีกมาก จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายถ้าพวกเขาจะตัดสินใจทำร้ายตัวเองด้วยอารมณ์ชั่ววูบ จนเกิดเป็นรอยแผลในใจหรือถึงขั้นสูญเสียชีวิต เพียงเพราะพวกเขาไม่ได้รับความช่วยเหลือใด ๆ ทั้งที่ถ้าพวกเขาได้รับกำลังใจหรือคำแนะนำ ก็อาจช่วยสะกิดให้พวกเขาลุกขึ้นยืนได้ใหม่ โดยไม่มีใครต้องเจ็บปวดหรือสูญเสีย

ช่องทางบริการให้คำปรึกษาสุขภาพจิตในสังคมยังมีไม่เพียงพอที่จะให้บริการอย่างทั่วถึง โครงการกำแพงพักใจ (Wall of Sharing) จึงเข้ามาช่วย เพิ่มช่องทางให้นักศึกษามีทางเลือกในการพูดคุย ปรึกษาปัญหาความเครียด ปัญหาสุขภาพจิตกับบุคลาการที่มีความเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา โดยใช้วิธีให้คำปรึกษาผ่านวีดีโอคอลที่เป็นมาตรฐานและยอมรับว่ามีประสิทธิภาพตามหลักสากล

ooca มีพันธกิจในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต โดยให้บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตออนไลน์ มาตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2017 จนถึงวันนี้ ที่เรามีความพร้อมจะเริ่มทำโครงการเพื่อสังคม

ผู้ก่อตั้ง ooca เป็นคนหนึ่งที่เคยเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงบริการให้คำปรึกษาเมื่ออยู่ในภาวะซึมเศร้า จึงคิดอยากสร้างแพลตฟอร์มที่ทำให้การให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สะดวกยิ่งขึ้น ปราศจากการตีตรา เข้าถึงง่าย มีอิสระมากขึ้นในการเลือกเวลาที่สะดวกรับคำปรึกษา จะได้ไม่ต้องลางานหรือลาเรียน

ผลกระทบทางสังคม

ปัจจุบันโครงการกำแพงพักใจได้ดำเนินการมา 3 ปี และได้มีผลกระทบต่อเยาวชนในสังคมไทยมากมาย

1. มีนิสิต นักศึกษาจากกว่า 10 มหาวิทยาลัยได้ลงทะเบียนกับ Wall of Sharing ในระบบ

2. สร้างแกนนำเยาวชนด้านสุขภาพจิตกว่า 30 คนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

3. ตลอดจนขยายผลในการจัดกิจกรรมเพื่อให้คนไทยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิตและการดูแลจิตใจที่ถูกต้องมากกว่า 100 คนในปีที่ผ่านมา

อัปเดต
ยังไม่มีการอัพเดทในขณะนี้