บริจาค
ต้องแฉ (Must Share) – พื้นที่สร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันสำหรับประชาชน
บริการทางสังคม
+ 1
กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
+7
+6
คัดลอกลิงค์ไปยังคลิปบอร์ดแล้ว
0ผู้ติดตาม
เพจต้องแฉ (MUST SHARE) “เป็นพื้นที่ออนไลน์ให้ประชาชนร่วมแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันด้วยกระบวนการ Crowdsourcing หรือการร่วมกันให้ข้อมูลเบาะแสการทุจริต”
0บาท ที่ระดมทุนได้
0% จากทั้งหมด 512,000 บาท เป้าหมาย
0ผู้สนับสนุน
10วันคงเหลือ
หากแคมเปญไม่ถึงเป้าหมายการระดมทุน จะเกิดอะไรขึ้นกับการบริจาค?
การลดหย่อนภาษี ไม่ได้
เกี่ยวกับองค์กร

ในอดีตที่ผ่านมาประชาชนหรือผู้ที่พบเห็นหรือประสบปัญหาจากการทุจริตคอร์รัปชันยังกลัวการให้เบาะแสเพราะมีเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิต !

ทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและสังคมไม่มีข้อมูลเพื่อที่จะใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การทุจริตคอร์รัปชันได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และอยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนานจนฝังรากลึกลงในความคิดของคนไทย บีบให้คนไทยต้องอยู่ร่วมและยอมรับการทุจริตคอร์รัปชันอย่างไม่มีทางออก

บริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันในสังคม

โดยการสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศของการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมให้สามารถร่วมกันส่งเสริมธรรมาภิบาล และต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กร ได้แก่ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มูลนิธิเพื่อคนไทย กองทุนรวมคนไทยใจดี กองทุนสื่อเพื่อความยุติธรรมในสังคม สำนักข่าวอิศรา เครือข่ายชมรม STRONG สำนักงานป.ป.ช. และองค์กรภาคีอื่น ๆ ดำเนินโครงการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันอย่างปลอดภัยด้วยกระบวนการ Crowdsourcing ในนาม “เพจต้องแฉ (Must share)”

เพจต้องแฉ (Must share) เป็นโครงการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสงสัยเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน

รวมถึงให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือต่อต้านคอร์รัปชัน และการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มความตระหนักในปัญหาและความสามารถในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในภาคพลเมือง บริหารจัดการระบบรับแจ้งเบาะแสผ่าน Facebook เพจต้องแฉ และมีช่องทางการทำงานร่วมกับภาคประชาชนในรูปแบบ Line Chat Bot ชื่อว่า “ฟ้องโกงด้วยแชตบอต” (@corruptionwatch) ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย เพื่อทำให้เกิดการทำงานร่วมกันได้สะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับการใช้งานของประชาชนทั่วไป และบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐให้สามารถแจ้งเหตุสงสัยทุจริตคอร์รัปชันโดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน โดยได้รับการสนับสนุนในการติดตาม ตรวจสอบ ประเด็นข้อสงสัยการทุจริตคอร์รัปชันจากศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ (Corruption Deterrence Center) สำนักงาน ป.ป.ช. อย่างรวดเร็ว

เพจต้องแฉ (Must share) ดำเนินการเป็นพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันต่อเนื่องยาวนานมากว่า 5 ปี ได้รับความไว้วางใจจากพลเมืองมีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม (Active Citizen) ในการร่วมกันเป็นหูเป็นตาส่งข้อมูลเข้ามาเป็นจำนวนมาก และได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนในการขยายผลสู่สังคมจนเกิดการลงไปตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ เช่น กรณีเสาไฟกินรี กรณีการจัดซื้อจัดจ้างในช่วงโควิด-19 ในหลายจังหวัด กรณีการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ ที่มีลักษณะแพงเกินจริง สร้างไม่เสร็จ สร้างแล้วไม่ได้คุณภาพ หรือสร้างแล้วไม่เกิดการใช้งานจริง ฯลฯ

ผลกระทบทางสังคม

ปัญหาและแนวทางการแก้ไขของโครงการที่ส่งผลดีต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

จากปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่ยังคงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อทุกด้านของสังคม ได้แก่

1) ด้านสังคม ในการพัฒนามนุษย์และการกระจายความมั่งคั่งที่ลดน้อยลง

2) ด้านเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลดน้อยลง

3) ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดการเสื่อมโทรมของสภาพสิ่งแวดล้อมทั้งใกล้ตัวและโดยภาพรวม

เพจต้องแฉ (Must Share) จึงเป็นโครงการหนึ่งที่มีความตั้งใจแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันรอบตัวและสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นในสังคมตามการพัฒนาที่อย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ทั้ง 3 ด้านของ ESG ได้แก่

1) สิ่งแวดล้อม (Environmental) คือ เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสอดส่องและขับเคลื่อนปัญหาที่การทุจริตคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การตระหนักรู้ และเกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตัวอย่างเช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นริมตลิ่งทะเลในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ใช้งบประมาณสูงแต่ส่อไม่ได้มาตรฐาน เกิดความเสียหายชำรุดเสียหาย ส่งผลต่อความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดินและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น (ตัวอย่าง https://bit.ly/3rXyXcu)

2) สังคม (Social) คือ สร้างผลกระทบต่อสังคมให้เกิดความโปร่งใส ลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จากการเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วมสอดส่องและแชร์ข้อมูลปัญหาคอร์รัปชันรอบตัว เพื่อนำไปสู่ทั้งการป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน

3) ธรรมาภิบาล (Governance) คือ ดำเนินงานโดยยึด 3 หลักที่สำคัญของธรรมภิบาล ได้แก่

  • หลักการมีส่วนร่วม คือ สร้างพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อระดมปัญหาทุจริตคอร์รัปชันหรือความไม่โปร่งใสที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างปลอดภัย นำไปสู่การแก้ไขเปลี่ยนแปลง นำเสนอประเด็นที่เข้าใจง่าย พร้อมกับเสริมความรู้ ข้อมูลที่ช่วยเสริมพลังให้กับทุกภาคส่วนในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
  • หลักความโปร่งใส คือ สนับสนุนให้เกิดความโปร่งใส ผ่านการร่วมกันหาคำตอบและเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวส่อทุจริตคอร์รัปชัน จากชุดข้อมูลต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ เช่น เครื่องมือ Big Open Data อย่าง ACT Ai หรือ actai.co เป็นต้น
  • หลักความรับผิดชอบ คือ ประชาชนและสื่อต่าง ๆ สามารถร่วมติดตามประเด็นปัญหาต่าง ๆ ได้รวมถึงภาครัฐสามารถร่วมอธิบาย ชี้แจงและแก้ไขปัญหาด้วยได้

ผู้ได้รับผลประโยชน์จากโครงการต้องแฉ คือ ประชาชนทั่วประเทศที่มีความสนใจหรือให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาทุจริตคอร์รัปชันใกล้ตัว

อัปเดต
ยังไม่มีการอัพเดทในขณะนี้