organization cover

Peaceful Death

Health
+ 1
กรุงเทพมหานคร, Thailand
+5
+4
Link copied to clipboard.
0followers
กลุ่มเพื่อนกิจกรรมสนับสนุนการอยู่ดีและตายดี
SDG Goals
2Zero Hunger
9Industry, Innovation and Infrastructure
10Reduced Inequality
Donation to organization is used for general expenses and not used for specific campaigns
2,000THB Raised
1supporter
Tax-deductible Not available
Our Story

เราคือกลุ่มเพื่อนกิจกรรมที่สนับสนุน "การอยู่ดีและตายดี" ของคนในสังคมไทย เราผลิตเนื้อหา เครื่องมือการเรียนรู้ จัดกิจกรรมเรียนรู้ชีวิตและความตายที่ง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับผู้สนใจ เราหวังเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมให้เอื้อต่อการจากไปอย่างสงบ

Peaceful Death ทำงานร่วมกับภาคีขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตช่วงท้ายและการตายดี ภาคประชาสังคม หน่วยงานสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชนท้องถิ่น เรายินดีเป็นเพื่อนที่พร้อมแบ่งปันคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพระยะท้าย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินงานของเรา จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ครอบครัว ทั้งในยามที่สุขภาพดี และยามที่ความจริงของชีวิตได้ปรากฏ

ในปี 2561 - ปัจจุบัน Peaceful Death ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการ “ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี” เราผลิตเนื้อหาแนวคิด และรูปธรรมของการสนับสนุนสุขภาวะของผู้ป่วยระยะท้าย ครอบครัว รวมทั้งผู้ผ่านความสูญเสีย นอกจากนี้ยังผลิตหลักสูตร บทความ เครื่องมือการเรียนรู้ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

จุดเริ่มต้นของโครงการฯ 

พ.ศ. 2543

พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต แปลหนังสือเหนือห้วงมหรรณพ และประตูสู่สภาวะใหม่ จากหนังสือคัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต โดยท่านโซเกียล รินโปเชหลังจากการตีพิมพ์หนังสือทั้งสองเล่ม ผู้อ่านในแวดวงสุขภาพได้ให้ความสนใจต่อความรู้เรื่องการเผชิญความตายอย่างมาก ทั้งในมิติสุขภาพและจิตวิญญาณ อีกทั้งมีความต้องการฝึกฝนเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติในหลักสูตรอบรมอีกทางหนึ่ง

พ.ศ. 2546 

เครือข่ายพุทธิกา ร่วมกับเสมสิกขาลัย จึงได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติ “เผชิญความตายอย่างสงบ” 

พ.ศ. 2547

เครือข่ายพุทธิกา พร้อมทั้งภาคีในระบบบริการสุขภาพ ดำเนินโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ กรณีศึกษาในสังคมไทย ควบคู่ไปกับการผลิตสื่อเรียนรู้ การจัดเวทีสาธารณะ พร้อมกับพัฒนาเครือข่ายแพทย์และพยาบาลดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไปพร้อมกัน

พ.ศ. 2549

หลังจากพัฒนาและอบรมเผชิญความตายอย่างสงบหลายรุ่น ก็เกิดโครงการ “อาสาข้างเตียง” เพื่อพัฒนาระบบอาสาสมัครดูแลจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโรงพยาบาล ตลอดจนเกิดจดหมายข่าวรายสามเดือน “อาทิตย์อัสดง” เพื่อสื่อสารแนวคิดและรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2554

พัฒนาโครงการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาล และชุมชน ในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายอย่างมีส่วนร่วม ด้วยเห็นว่าพระสงฆ์ เป็นสถาบันทางสังคมที่มีต้นทุนสำคัญ และมีศักยภาพในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยด้วยหลักพุทธธรรม อีกทั้งการดูแลผู้ป่วยเองก็เกื้อกูลความก้าวหน้าต่อการปฏิบัติพุทธธรรมด้วยเช่นกัน

พ.ศ. 2555

ให้บริการสายด่วนให้คำปรึกษาทางจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย โทร. 086-0022-302 ให้บริการในเวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ 10.00 – 16.00 น. โดยจิตอาสาเครือข่ายพุทธิกา โดยได้รับการสนับสนุนคำปรึกษาจากพระสงฆ์ แพทย์และพยาบาลดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลภาคี

พ.ศ. 2555

ดำเนินโครงการสื่อสารสร้างความตระหนัก วิถีสู่ความตายอย่างสงบ หรือ “ความตาย พูดได้” เพื่อสื่อสารให้สาธารณะได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมตัวสนทนาพูดคุย ฝึกฝนการวางใจ รับมือกับความตายที่จะมาเยี่ยมเยือนอย่างแน่นอน ผ่านเนื้อหา เครื่องมือ และรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา ยังคงดำเนินกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง มุ่งสร้างระบบสังคมและวัฒนธรรมที่ตื่นรู้ เกื้อกูลความไม่ประมาทในชีวิต และเป็นมิตรกับความตาย

พ.ศ. 2560

โครงการความตาย พูดได้ เครือข่ายพุทธิกา ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการเรียนรู้เรื่องชีวิตและความตาย จำนวน 18 องค์กร ร่วมกันจัดงาน Happy Deathady ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 10-11 มิถุนายน 2560 การจัดงานดังกล่าวเป็นหมุดหมายที่ทำให้สังคมไทยเกิดความตระหนักเรื่องการเตรียมตัวตายอย่างมีนัยสำคัญ

พ.ศ. 2561

โครงการความตาย พูดได้ ได้รับการสนับสนุนจากพุทธิกา ให้ดำเนินงานเป็นกลุ่มอิสระ ในชื่อ Peaceful Death โดยมีพันธกิจสนับสนุนให้สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการตายดี ในปีเดียวกันนี้เองกลุ่ม Peaceful Death ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี จากสำนักงานอกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการตายดี นอกจากนี้ยังคงจัดกิจกรรมและรณรงค์ให้การศึกษาด้านการเตรียมตัวตายอย่างต่อเนื่อง ผ่านการทำหลักสูตรการอบรม การผลิตเนื้อหา และการจัดกิจกรรมสาธารณะที่มีความหลากหลาย

Social Impact

ปัจจุบัน เรา

  • ผลิตเครื่องมือการเรียนรู้สนับสนุนวัฒนธรรมความตายพูดได้ 3 ชิ้น ได้แก่ สมุดเบาใจ เกมไพ่ไขชีวิต การ์ดแชร์กัน
  • ผลิตเครื่องมือการดูแลจิตใจผู้ป่วย ผู้ดูแล และบุคลากรสุขภาพ 2 ชิ้น ได้แก่ แคร์คลับ ไพ่ฤดูฝน
  • ผลิตหนังสือและเนื้อหากว่า 11 ปก สนับสนุนความรู้เรื่องการดูแลความเจ็บป่วยระยะท้าย การตาย และความสูญเสีย
  • สนับสนุนให้ประชาชนทำแผนดูแลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20,000 คน
  • อบรมกระบวนกรชุมชนกว่า 100 คน
  • ร่วมพัฒนาพื้นที่ชุมชนกรุณา ที่มีกระบวนกรชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สนับสนุนการตายดีกว่า 20 แห่งทั่วประเทศ
  • จัดห้องเรียนออนไลน์ เรียนรู้เรื่องการอยู่ดีและตายดีกว่า 50 ครั้ง

(บันทึกข้อมูลเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564)

Updates
There are currently no updates