+5
+4
คัดลอกลิงค์ไปยังคลิปบอร์ดแล้ว
0ผู้ติดตาม
กลุ่มเพื่อนกิจกรรมสนับสนุนการอยู่ดีและตายดี
เป้าหมาย SDGs
2ขจัดความหิวโหย
9อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
10ลดความเหลื่อมล้ำ
การบริจาคให้กับองค์กรจะใช้สำหรับค่าใช้จ่ายทั่วไปและไม่ได้เจาะจงเฉพาะโครงการ
2,000บาท ที่ระดมทุนได้
1ผู้สนับสนุน
การลดหย่อนภาษี ไม่ได้
เกี่ยวกับองค์กร

เราคือกลุ่มเพื่อนกิจกรรมที่สนับสนุน "การอยู่ดีและตายดี" ของคนในสังคมไทย เราผลิตเนื้อหา เครื่องมือการเรียนรู้ จัดกิจกรรมเรียนรู้ชีวิตและความตายที่ง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับผู้สนใจ เราหวังเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมให้เอื้อต่อการจากไปอย่างสงบ

Peaceful Death ทำงานร่วมกับภาคีขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตช่วงท้ายและการตายดี ภาคประชาสังคม หน่วยงานสุขภาพ โรงพยาบาล และชุมชนท้องถิ่น เรายินดีเป็นเพื่อนที่พร้อมแบ่งปันคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพระยะท้าย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินงานของเรา จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ครอบครัว ทั้งในยามที่สุขภาพดี และยามที่ความจริงของชีวิตได้ปรากฏ

ในปี 2561 - ปัจจุบัน Peaceful Death ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการ “ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี” เราผลิตเนื้อหาแนวคิด และรูปธรรมของการสนับสนุนสุขภาวะของผู้ป่วยระยะท้าย ครอบครัว รวมทั้งผู้ผ่านความสูญเสีย นอกจากนี้ยังผลิตหลักสูตร บทความ เครื่องมือการเรียนรู้ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

จุดเริ่มต้นของโครงการฯ 

พ.ศ. 2543

พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต แปลหนังสือเหนือห้วงมหรรณพ และประตูสู่สภาวะใหม่ จากหนังสือคัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต โดยท่านโซเกียล รินโปเชหลังจากการตีพิมพ์หนังสือทั้งสองเล่ม ผู้อ่านในแวดวงสุขภาพได้ให้ความสนใจต่อความรู้เรื่องการเผชิญความตายอย่างมาก ทั้งในมิติสุขภาพและจิตวิญญาณ อีกทั้งมีความต้องการฝึกฝนเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติในหลักสูตรอบรมอีกทางหนึ่ง

พ.ศ. 2546 

เครือข่ายพุทธิกา ร่วมกับเสมสิกขาลัย จึงได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติ “เผชิญความตายอย่างสงบ” 

พ.ศ. 2547

เครือข่ายพุทธิกา พร้อมทั้งภาคีในระบบบริการสุขภาพ ดำเนินโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ กรณีศึกษาในสังคมไทย ควบคู่ไปกับการผลิตสื่อเรียนรู้ การจัดเวทีสาธารณะ พร้อมกับพัฒนาเครือข่ายแพทย์และพยาบาลดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไปพร้อมกัน

พ.ศ. 2549

หลังจากพัฒนาและอบรมเผชิญความตายอย่างสงบหลายรุ่น ก็เกิดโครงการ “อาสาข้างเตียง” เพื่อพัฒนาระบบอาสาสมัครดูแลจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโรงพยาบาล ตลอดจนเกิดจดหมายข่าวรายสามเดือน “อาทิตย์อัสดง” เพื่อสื่อสารแนวคิดและรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ในเวลาต่อมา

พ.ศ. 2554

พัฒนาโครงการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาล และชุมชน ในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้ายอย่างมีส่วนร่วม ด้วยเห็นว่าพระสงฆ์ เป็นสถาบันทางสังคมที่มีต้นทุนสำคัญ และมีศักยภาพในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยด้วยหลักพุทธธรรม อีกทั้งการดูแลผู้ป่วยเองก็เกื้อกูลความก้าวหน้าต่อการปฏิบัติพุทธธรรมด้วยเช่นกัน

พ.ศ. 2555

ให้บริการสายด่วนให้คำปรึกษาทางจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย โทร. 086-0022-302 ให้บริการในเวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ 10.00 – 16.00 น. โดยจิตอาสาเครือข่ายพุทธิกา โดยได้รับการสนับสนุนคำปรึกษาจากพระสงฆ์ แพทย์และพยาบาลดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลภาคี

พ.ศ. 2555

ดำเนินโครงการสื่อสารสร้างความตระหนัก วิถีสู่ความตายอย่างสงบ หรือ “ความตาย พูดได้” เพื่อสื่อสารให้สาธารณะได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมตัวสนทนาพูดคุย ฝึกฝนการวางใจ รับมือกับความตายที่จะมาเยี่ยมเยือนอย่างแน่นอน ผ่านเนื้อหา เครื่องมือ และรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา ยังคงดำเนินกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง มุ่งสร้างระบบสังคมและวัฒนธรรมที่ตื่นรู้ เกื้อกูลความไม่ประมาทในชีวิต และเป็นมิตรกับความตาย

พ.ศ. 2560

โครงการความตาย พูดได้ เครือข่ายพุทธิกา ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการเรียนรู้เรื่องชีวิตและความตาย จำนวน 18 องค์กร ร่วมกันจัดงาน Happy Deathady ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 10-11 มิถุนายน 2560 การจัดงานดังกล่าวเป็นหมุดหมายที่ทำให้สังคมไทยเกิดความตระหนักเรื่องการเตรียมตัวตายอย่างมีนัยสำคัญ

พ.ศ. 2561

โครงการความตาย พูดได้ ได้รับการสนับสนุนจากพุทธิกา ให้ดำเนินงานเป็นกลุ่มอิสระ ในชื่อ Peaceful Death โดยมีพันธกิจสนับสนุนให้สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการตายดี ในปีเดียวกันนี้เองกลุ่ม Peaceful Death ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ ชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี จากสำนักงานอกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการตายดี นอกจากนี้ยังคงจัดกิจกรรมและรณรงค์ให้การศึกษาด้านการเตรียมตัวตายอย่างต่อเนื่อง ผ่านการทำหลักสูตรการอบรม การผลิตเนื้อหา และการจัดกิจกรรมสาธารณะที่มีความหลากหลาย

ผลกระทบทางสังคม

ปัจจุบัน เรา

  • ผลิตเครื่องมือการเรียนรู้สนับสนุนวัฒนธรรมความตายพูดได้ 3 ชิ้น ได้แก่ สมุดเบาใจ เกมไพ่ไขชีวิต การ์ดแชร์กัน
  • ผลิตเครื่องมือการดูแลจิตใจผู้ป่วย ผู้ดูแล และบุคลากรสุขภาพ 2 ชิ้น ได้แก่ แคร์คลับ ไพ่ฤดูฝน
  • ผลิตหนังสือและเนื้อหากว่า 11 ปก สนับสนุนความรู้เรื่องการดูแลความเจ็บป่วยระยะท้าย การตาย และความสูญเสีย
  • สนับสนุนให้ประชาชนทำแผนดูแลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 20,000 คน
  • อบรมกระบวนกรชุมชนกว่า 100 คน
  • ร่วมพัฒนาพื้นที่ชุมชนกรุณา ที่มีกระบวนกรชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สนับสนุนการตายดีกว่า 20 แห่งทั่วประเทศ
  • จัดห้องเรียนออนไลน์ เรียนรู้เรื่องการอยู่ดีและตายดีกว่า 50 ครั้ง

(บันทึกข้อมูลเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564)

อัปเดต
ยังไม่มีการอัพเดทในขณะนี้